สัมภาระ

สัมภาระ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หัตถภาระ คือ ถุงย่าม ห่อผ้า กระเป๋าถือ หีบหรือกระป๋องทุกชนิด ซึ่งผู้โดยสารนำไปในห้องรถโดยสารสำหรับ
ใช้สอยเอง หรือเพื่อความสะดวก
2. ครุภาระ คือ สรรพสิ่งของเครื่องใช้ทุกชนิด ซึ่งผู้โดยสารอจากนำไปในรถภาระ
อนุญาตให้นำสัมภาระไปพร้อมกับตัวผู้โดยสาร ในขบวนรถต่าง ๆ ได้
1. สัมภาระที่มีขนาดไม่เกินกว่า 50 x 50 x 50 ซม. หรือสัญฐานอย่างอื่นที่ไม่เกินปริมาตรเดียวกัน
2. สัมภาระที่ไม่ใช่วัตถุที่ไวไฟหรือเป็นสิ่งอันพึงรังเกียจ หรือสิ่งของส่งกลิ่นรุนแรง หรืออาจเปรอะเปื้อนทำความเสียหาย
แก่ส่วนประกอบรถ หรือต่อบุคคล หรือสิ่งของของผู้โดยสารอื่น
3. สามารถเก็บในที่วางของหรือใต้ม้านั่งได้โดยเรียบร้อย หากเป็นรถที่ไม่มีที่วางของหรือชั้นวางของก็อนุโลมให้วางไว้
ข้างที่นั่งในส่วนที่เป็นสิทธิของแต่ละคน (ตรงกับที่นั่งแต่ละคน) แต่ไม่ให้ล้ำเข้าไปในช่องทางเดินเกินจนไปปิดกั้นช่องทางเดิน
โดยสิ้นเชิง หรือกีดขวางการใช้สิทธิของผู้โดยสารอื่น และต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนรำคาญกับผู้โดยสารอื่น
น้ำหนักที่ยกเว้นค่าระวาง
กรณีนำไปกับขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถรวม ขบวนรถพิเศษโดยสาร และขบวนรถดีเซลรางที่เดินนอกเหนือ
จากขบวนรถชานเมือง ( ต่อ 1 ท่าน )
ชั้นที่ 1 ไม่เกิน 50 กิโลกรัม
ชั้นที่ 2 ไม่เกิน 40 กิโลกรัม
ชั้นที่ 3 ไม่เกิน 30 กิโลกรัม
( เด็กในเกณฑ์เสียค่าโดยสาร อนุญาตให้นำไปครึ่งหนึ่งของอัตรา )
กรณีนำไปกับขบวนรถดีเซลรางชานเมืองที่ตั้งต้น และสุดปลายทางอยู่ภายในระหว่างสถานี
กรุงเทพ – ปราจีนบุรี – กรุงเทพ
กรุงเทพ – แก่งคอย – กรุงเทพ
กรุงเทพ – ลพบุรี – กรุงเทพ
กรุงเทพและธนบุรี – ราชบุรี – ธนบุรีและกรุงเทพ
ผู้ใหญ่ และเด็กในเกณฑ์เสียค่าโดยสาร อนุญาตให้นำไปได้ไม่เกินท่านละ 15 กิโลกรัม
การรถไฟฯ อนุญาตให้คนพิการนำรถเข็นซึ่งใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวเป็นสัมภาระติดตัวเดินทาง
ไปกับขบวนรถโดยสารได้ โดยไม่ต้องเสียค่าระวางใด ๆ
รถจักรยานยนต์ อนุญาตให้นำไปกับขบวนรถโดยสาร และรถรวมทุกขบวน โดยเสียค่าระวาง ดังนี้
ขนาดไม่เกิน 125 ซีซี
ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ค่าธรรมเนียม 400 บาท + ค่าขนขึ้น 80 บาท + ค่าขนลง 40 บาท
ขนาดเกิน 125 ซีซี
ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ค่าธรรมเนียม 500 บาท + ค่าขนขึ้น 100 บาท + ค่าขนลง 60 บาท
การคิดค่าระวางสัมภาระ เป็นสัมภาระที่นำไปเกินน้ำหนักหรือปริมาตรที่อนุญาตไว้ต้องเสียค่าระวาง และค่าธรรมเนียม
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หากเป็นการกีดขวางที่จะนำเก็บไว้ในรถโดยสารก็ให้นำไปเก็บไว้ในรถที่ทำการพนักงานรักษารถ (พรร.)
การคิดค่าระวางสัมภาระ
1. กรณีนำไปกับขบวนรถด่วน รถเร็ว และขบวนรถพิเศษโดยสาร
น้ำหนักไม่เกิน 100 กก. – > ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ( จำนวนกลุ่ม x 30 )
น้ำหนักเกิน 100 กก. – > ค่าระวางรวม = ค่าระวาง +( 5 x 30 ) +( จำนวนกลุ่มที่เกิน 100 กก.x 40 )
2. กรณีนำไปกับขบวนรถธรรมดา และขบวนรถดีเซลรางอื่น ๆ
น้ำหนักไม่เกิน 100 กก. – > ค่าระวางรวม = ค่าระวาง + ( จำนวนกลุ่ม x 20 )
น้ำหนักเกิน 100 กก. – > ค่าระวางรวม = ค่าระวาง +( 5 x 20 ) +( จำนวนกลุ่มที่เกิน 100 กก.x 30 )
( จำนวนกลุ่ม คือ น้ำหนักของสัมภาระ ซึ่งการรถไฟฯ แยกเป็นส่วน ๆ ละ 20 กก.ต่อ 1 กลุ่ม เช่น 60 กก.คิดเป็น 3 กลุ่ม )
สัตว์มีชีวิต
สัตว์ปีก
นำไปได้ไม่เกิน 5 ตัว และน้ำหนักรวมไม่เกิน 30 กก.
ต้องผูกมัดหรือบรรจุที่คุมขังให้เรียบร้อย
ปริมาตรไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้
ค่าระวางอัตราพิเศษ
ที่สถานี ตัวละ 10.00 บาท
ตรวจพบบนขบวนรถ ตัวละ 20.00 บาท
สัตว์มีชีวิตอื่น ๆ
เช่น สุนัข แมว เป็นต้น
ต้องบรรจุที่คุมขังมีฝาปิดให้เรียบร้อย
ยกเว้น สุนัขที่ไม่ดุร้ายไม่ต้องบรรจุที่คุมขังก็ได้
ค่าระวาง
คิดค่าระวางขั้นต่ำไม่น้อยกกว่า 50 บาท
บวก ค่าธรรมเนียม จำนวนกลุ่ม
ห้ามนำสัตว์ทุกชนิด เข้าไปในรถปรับอากาศ
ติดต่อสอบถามค่าระวางสัมภาระ
เขตกรุงเทพมหานคร
สถานี
โทรศัพท์องค์การ “ทศท”
โทรศัพท์ภายในของการรถไฟฯ
  กรุงเทพ
824-5226 , 5283
  สามเสน
0-2241-4238
824-5260
  ชท.บางซื่อ 1
0-2587-4613
821-5171
  ชท.บางซื่อ 2
821-5173
  ดอนเมือง
0-2566-2957
824-5003
  รังสิต
824-5004
  ธนบุรี
0-2411-3102
828-5106
  บางบำหรุ
821-5195
สายเหนือ
สถานี
โทรศัพท์องค์การ “ทศท”
โทรศัพท์ภายในของการรถไฟฯ
  อยุธยา
0-3524-1521
824-2010
  ชท.บ้านภาชี
0-3531-1100
824-2018
  ลพบุรี
0-3641-1022
831-228
  นครสวรรค์
0-5625-5676
831-511
  ตะพานหิน
0-5662-1955
831-237
  พิจิตร
0-3661-2163
832-235
  พิษณุโลก
0-5525-8688
832-229
  พิชัย
832-211
  อุตรดิตถ์
0-5541-1023
832-516
  ศิลาอาสน์
0-5541-1316
832-511
  เด่นชัย
0-5461-3261
833-222
  ลำปาง
0-5421-7584
833-511
  ลำพูน
0-5351-1016
834-203
  เชียงใหม่
0-5324-2218
834-511
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
สถานี
โทรศัพท์องค์การ “ทศท”
โทรศัพท์ภายในของการรถไฟฯ
  สระบุรี
0-3621-1091
841-202
  ชท.แก่งคอย
0-3624-4022
841-515
  ปากช่อง
0-4431-1534
842-201
  นครราชสีมา
0-4424-2044
842-511
  ชท.ถนนจิระ
0-4424-2363
842-519
  บุรีรัมย์
842-228
  กระสัง
842-230
  สุรินทร์
0-4551-1295
843-212
  ศีขรภูมิ
843-216
  อุทุมพรพิสัย
843-220
  ศรีสะเกษ
0-4561-1525
843-223
  อุบลราชธานี
0-4532-1138
843-511
  ชท.บัวใหญ่
0-4446-1182
844-515 , 844-516
  ขอนแก่น
0-4322-1112
845-511
  เมืองพล
0-4441-4708
844-205
  กุมภวาปี
0-4333-1881
846-200
  อุดรธานี
0-4224-7773
846-511
  หนองคาย
0-4241-1637 , 0-4241-1592
846-518
สายใต้
สถานี
โทรศัพท์องค์การ “ทศท”
โทรศัพท์ภายในของการรถไฟฯ
  ศาลายา
821-2375
  นครปฐม
0-3425-8771
821-2057 , 821-5058
  ราชบุรี
821-2070 , 821-2071
  เพชรบุรี
0-3242-5211
861-207 , 861-208
  หัวหิน
861-515 , 861-516
  ประจวบคีรีขันธ์
0-3261-1175
861-238
  บางสะพานใหญ่
0-3269-1552
861-257
  ปะทิว
862-207
  ชุมพร
0-7751-1103
862-511
  สวี
0-7753-1253
862-213
  หลังสวน
0-7754-1286
862-217
  ไชยา
0-7743-1348
862-229
  สุราษฎร์ธานี
0-7731-1213
862-234 , 862-235
  บ้านส้อง
0-7736-2004
863-204
  ชท.ทุ่งสง
0-7541-1254
863-515 , 863-516
  พัทลุง
0-7461-3106
864-201 , 864-202
  ชท.หาดใหญ่
0-7424-3038
864-511
  ปัตตานี
0-7443-1232
865-200
  ยะลา

0-7421-2737
865-511
  รือเสาะ
0-7357-1188
  ตันหยงมัส

0-7367-1191
  สุไหงโก-ลก

0-7366-1162
  นครศรีธรรมราช

0-7535-6364
863-228 , 863-229
  กันตัง

0-7525-1015
  ตรัง

0-7521-8012
  ปาดังเบซาร์

0-7452-1050

ใส่ความเห็น