ระบบ e-payment กรมศุลกากร

 เรื่อง :   การรับชำระค่าภาษีอากรผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) [ 17/03/2546  ]
การรับชำระค่าภาษีอากรผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์

(Financial Electronic Data Interchange: FEDI)

 

                กรมศุลกากรได้เปิดให้บริการรับชำระค่าภาษีอากรผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นทางการ  เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2545 โดยได้มีการลงนามร่วมกันระหว่างกรมศุลกากรกับธนาคารพาณิชย์อีก 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

 

                สำหรับขั้นตอนการใช้บริการระบบดังกล่าวประกอบด้วย

 

1.      ส่วนที่ผู้ประกอบการต้องเตรียม

1.1        ผู้ประกอบการจะต้องเปิด/มีบัญชีกับธนาคารพาณิชย์ตามที่ปรากฏรายชื่อข้างต้น

1.2        ผู้ประกอบการจะต้องจัดหา/เตรียมโปรแกรมในการส่งข้อมูล Payment Order ไปยังธนาคารเพื่อสั่งโอนเงิน และโปรแกรมในการส่งข้อมูล Remitted Advice มายังกรมศุลกากร เพื่อแจ้งให้กรมศุลกากรทราบว่าต้องการออกของด้วยใบขนสินค้าหมายเลขใดบ้าง

1.3        ผู้ประกอบการจะต้องโทรนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ด้านวางแผนเทคโนโลยี ของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ โทร.02-6717151 และแจ้งธนาคารกรุงไทย เพื่อทำการทดสอบการรับ-ส่งข้อมูล Payment Order ที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร และ Remitted Advice ที่เกี่ยวข้องกับกรมศุลกากร เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานของระบบมีความถูกต้อง

1.4        ผู้ประกอบการจัดส่งรายงานในรูปแบบที่กรมศุลกากรต้องการมายังด้านพัฒนาระบบสำนักงานอัตโนมัติ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ ชั้น 4 อาคาร120 ปี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศจะแจ้งผลกลับภายใน 3 วันทำการ

1.5        หากข้อมูลที่ทดสอบถูกต้อง ผู้ประกอบการต้องแจ้งรหัสผู้ใช้ EDI ที่ต้องการใช้กับระบบ FEDI มายังด้านวางแผนเทคโนโลยี ของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางโทรศัพท์ ภายในเดือนที่ได้ทำการทดสอบระบบงาน

 

2.      ขั้นตอนการใช้งานระบบ FEDI

ในขณะที่ผู้ประกอบการจัดเตรียมข้อมูลใบขนสินค้า ผู้ประกอบการจะต้องระบุวิธีการชำระเงิน (Payment Method) ให้มีค่าเป็น “01” หมายถึง การชำระค่าภาษีอากรผ่านทาง FEDI แล้วส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านทาง EDI มายังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร เมื่อเครื่องของกรมศุลกากรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเบื้องต้นแล้วจะแจ้งข้อความกลับไปยังผู้ประกอบการ

 

2.1     กรณีใบขนสินค้าที่เป็น Green Line มีขั้นตอนดังนี้

2.1.1           ผู้ประกอบการส่ง Payment Order ไปยังธนาคารที่ตนเปิดบัญชีไว้ เมื่อธนาคารได้ทำการโอนเงินจากบัญชีของผู้ประกอบการมาเข้าบัญชีของกรมศุลกากรเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งข้อความกลับไปยังผู้ประกอบการ

2.1.2           ผู้ประกอบการส่ง Remitted Advice มายังกรมศุลกากรโดยระบุ เลขที่อ้างอิง จำนวนเงิน และเลขที่ใบขนสินค้าที่ต้องการตรวจปล่อยสินค้า เป็นต้น ในขณะเดียวกัน Customs Bank จะส่ง Credit Adviceมายังกรมศุลกากร

2.1.3           เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะทำการ Matching ข้อมูลที่ได้จากผู้ประกอบการ และข้อมูลที่ได้จาก Customs Bank หากถูกต้องตรงกัน เครื่องของกรมศุลกากรจะให้เลขที่รับชำระ พร้อมส่งข้อความที่มีเลขที่รับชำระแจ้งกลับไปยังผู้ประกอบการ

2.1.4           ผู้ประกอบการพิมพ์ใบขนสินค้า เพื่อมารับใบเสร็จรับเงินที่หน่วยการเงิน และไปดำเนินการตรวจปล่อย

 

2.2     กรณีใบขนสินค้าที่เป็น Red Line มีขั้นตอนดังนี้

2.2.1           ผู้ประกอบการ/ตัวแทนออกของ นำใบขนสินค้าที่เป็น Red Line ไปพบเจ้าหน้าที่ประเมินอากรเพื่อตรวจสอบ และปลด Profile ตามปกติ

2.2.2           ผู้ประกอบการ/ตัวแทนออกของดำเนินการชำระค่าภาษีอากรผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (FEDI)โดยมีขั้นตอนตามที่ระบุไว้ในข้อ 2.1.1- ข้อ 2.1.3 หลังจากนั้นไปติดต่อที่หน่วยการเงินเพื่อรับใบเสร็จรับเงิน

2.2.3           ให้เจ้าหน้าที่การเงินตรวจสอบเลขที่รับชำระของใบขนสินค้าฉบับดังกล่าว จากระบบคอมพิวเตอร์ และสั่งพิมพ์ใบเสร็จรับเงินให้ผู้ประกอบการ โดยเขียนเลขที่/วันที่รับชำระลงบนใบขนสินค้าพร้อมลงลายมือชื่อกำกับ และไปดำเนินการตรวจปล่อย

 

2.3                กรณีเงินเกินและได้รับเลขที่ชำระอากรจากระบบแล้ว แต่ผู้นำเข้าหรือตัวแทนออกของประสงค์จะขอยกเลิกใบขนสินค้า  ให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนออกของไปขอคืนในระบบคืนอากรทั่วไป

 

2.4                กรณีเงินเกินและยังไม่ได้รับเลขที่ชำระอากรจากระบบ ให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนออกไปติดต่อที่หน่วยการเงิน ณ ท่าหรือที่ที่นำเข้า

http://www2.customs.go.th/OpenFile.jsp?docId=K00006

ใส่ความเห็น